บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑

เรื่องย่อรามเกียรติ์

ตัวละคร

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องรามเกียรติ์

    บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เนื้อเรื่องมาจากวรรณคดีของอินเดียเรื่อง รามายณะ อันเป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีมานานกว่า ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว   ไทยเรานำมาเล่นเป็นหนังและโขนตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ เป็นกลอนบทละคร แต่ไม่แพร่หลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเกรงว่า เรื่อง รามเกียรติ์ จะสูญไปเสียจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นและได้โปรดเกล้าฯ ในกวีในสมัยของพระองค์ร่วมนิพนธ์ด้วยหลายตอน   รามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ฉบับนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับวรรณคดีเรื่อง รามายณะ ของอินเดีย

แต่ก็มีที่แตกต่างกันหลายอย่าง เช่น เนื้อเรื่องบางตอน ชื่อตัวละครบางตัว เป็นต้น

เป็นบทละครที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนประกอบด้วยเรื่องน่ารู้ และเรื่องแทรกที่สนุกสนานทั้งยังนำมาปรับปรุงเป็นบทสำหรับการเล่นละครได้อย่างดี ละครไทยแท้ๆ แต่เดิมมักจะเป็นละครรำที่มีท่ารำบอกถึงเรื่องราวตามบทร้อง ดังนั้น ท่า รำและบทร้องจึงมีความหมายสอดคล้องต้องกันทั้งยังเข้ากับทำนองเพลงต่างๆที่ให้ไว้ด้วย เช่น เพลงช้า กราวนอก เสมอ โอด เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒) ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีสมโภชพระนครใหม่  คือ กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๘ – ๒๓๒๙ เนื้อเรื่องประกอบด้วยเรื่องราวน่ารู้ต่างๆ เริ่มด้วยหิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน และกำเนิดตัวละครสำคัญๆทั้งฝ่ายยักษ์ ลิง และมนุษย์ แล้วจึงดำเนินเรื่องการสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ซึ่งต้องสู้รบกันหลายครั้งกว่าจะได้ชัยชนะเด็ดขาด   ประกอบด้วยเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นและเรื่องแทรกที่สนุกสนานบันเทิง เสริมด้วยอารมณ์ขัน ทำให้เรื่องราวมีสีสันเหมาะสมกับการแสดงละคร ทั้งยังให้คติธรรมที่ว่า ธรรมย่อมชนะอธรรม และยกย่องความซื่อสัตย์ ความกตัญญู บทละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมจากคนไทยทุกยุคทุกสมัย

ตัวอย่าง จากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนกุมภกรรณลับหอกโมกขศักดิ์ บอกชื่อเพลงโอด ดังนี้

ฯ๒คำฯ โอด
เมื่อนั้น                       ทศเศียรสุริยวงศ์รังสรรค์
เห็นน้องท้าวเจ็บปวดจาบัลย์   กุมภัณฑ์ตระหนกตกใจ
จึ่งมีพระราชบัญชา            เจ้าผู้ฤทธาแผ่นดินไหว
ออกไปรณรงค์ด้วยพวกภัย       เหตุใดจึ่งเป็นดั่งนี้ฯ

รามเกียรติ์

เรื่องรามเกียรติ์ในการแสดงโขน และในจิตรกรรมฝาผนัง

ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเรื่องเดียวกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ มีเรื่องราวยืดยาวติดต่อกันไป นับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดในวรรณกรรมไทย เพราะต้องเขียนในสมุดไทยถึง ๑๑๗ เล่มสมุดไทย

คลิปตัวอย่างเรื่องรามเกียรติ์

ใส่ความเห็น